ใบความรู้ เรื่อง วิธีคิดแบบหมวกหกใบ (Six Thinking Hats)
วิธีคิดแบบหมวกหกใบ (Six Thinking Hats) คิดค้นขึ้นโดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอโบโน(Edward De Bono) เป็นวิธีที่นำมาใช้พัฒนาทักษะการคิด อารมณ์ และความรู้สึกอย่างเป็น ขั้นตอน ช่วยให้มนุษย์มีการคิดที่มีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์ และครอบคลุมรอบด้านยิ่งขึ้นซึ่งจะช่วยตอบสนองกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีเป้าหมายต้องการพัฒนามนุษย์ให้มี คุณภาพ
เกิดความคิดระดับสูง มียุทธศาสตร์ในการเรียนรู้ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอโบโน ใช้สีเป็นชื่อหมวก เพื่อให้มองเห็นภาพของหมวกได้ สีหมวกแต่ละใบยังสอดคล้องกับแนวคิดของหมวกแต่ละใบและยังบอกให้ทราบว่าต้องการให้คิดไปในทิศทางใด สามารถมุ่งคิดครั้งละด้าน โดยไม่ต้องพะวงกับด้านอื่นทำให้คิดได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นหมวกสีขาว แสดงถึงความเป็นกลางหมายถึงข้อมูลข่าวสารหมวกสีแดง แสดงถึงความโกรธ อารมณ์ ความสนุก ความพอใจหมวกสีดำ แสดงถึงเหตุผลด้านลบ เหตุผลในการปฏิเสธหมวกสีเหลือง แสดงถึงเหตุผลด้านบวก เหตุผลในการยอมรับหมวกสีเขียว แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ ๆหมวกสีฟ้า แสดงถึงการควบคุม การจัดระเบียบ ขั้นตอน
การคิดแบบหมวก 6 ใบ มีหลักการดังนี้1. ภายใต้เงื่อนไขของหมวกแต่ละสี ทุกคนในกลุ่มต้องใช้ความคิดไปในทิศทางเดียวกันมุ่งไปที่เนื้อหา ไม่ใช่ต่างคนต่างคิดเรื่องนั้น2. ความคิดที่แตกต่าง แม้ว่าจะตรงข้ามกัน ก็สามารถนำมาคิดไปพร้อมกันได้3. สีของหมวกทำให้เกิดการมองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หมวกสีเหลืองและสีดำ เป็นความพยายามร่วมกันที่จะค้นหาประโยชน์และอุปสรรคไม่ใช่หันหน้าต่อสู้กันขั้นตอนกระบวนการคิดแบบหมวก 6 ใบ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่า ต้องเริ่มคิดที่หมวกสีใดก่อน แต่สามารถใช้การคิดแบบหมวกสีใดก่อนก็ได้ หรือคิดกลับไปกลับมายังหมวกสีใดก็ได้ และควรคิดให้ครบทั้ง 6 แบบ เพื่อความสมบูรณ์ในการคิดรอบด้านวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ จะทำให้เกิดการโต้เถียงในที่ประชุมกันน้อยลง เพราะไม่นำความคิดหลายด้านมาปะปนกันช่วยให้ประหยัดเวลาได้มาก การเรียนรู้โดยใช้วิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความรู้สึกภายในออกมา เพราะอารมณ์ ความรู้สึกเป็นส่วนสำคัญยิ่งของกระบวนการคิด ผู้เรียนสามารถร่วมกันคิดที่แปลกแหวกแนวจากความคิดเก่าที่เคย มีผู้เสนอมาการคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝนและพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด6 ใบ จะช่วยให้ผู้คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนการคิดอย่างสร้างสรรค์ และสามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย และรวดเร็วมากขึ้นด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลกนำวิธีคิดดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนา องค์กร เช่น บริษัทดูปองก์ ไอบีเอ็ม บริติชแอร์เวย์ เป็นต้น นอกจากนี้หลายประเทศทั่วโลก ยังนำวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ ไปใช้ในการฝึกทักษะการคิดของนักเรียนในโรงเรียน เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ สิงคโปร์ ฯลฯ
ที่มา : ไผท สิทธิสุนทร. วิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ. วารสารวิชาการ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์2542.http : //www.edwdebono.com
1.ข่าวสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
ให้นักเรียนวิเคราะห์ข่าวต่อไปนี้ โดยใช้วิธีคิดแบบหมวก 6 ใบเมื่อเวลา 21.00 น. วันที่ 8 มิถุนายน นายศุภชัย ศรีพรหม เจ้าพนักงานป่าไม้ 6 หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ และ ร.ต.อ.ยาวี ลภเลิศ รอง สว.ด่าน ตม.สตูล ได้ร่วมกันปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ในพื้นที่เกาะอาดัง- เกาะหลีเป๊ะ อุทยานฯตะรุเตา ซึ่งมีการลักลอบตัดไม้ในเขตอุทยานฯตะรุเตา เพื่อนำไม้ไปทำการก่อสร้างต่อเรือใหม่ เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุเกาะหลีเป๊ะอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ม.7 ต.เกาะสาหร่าย อ.เมืองสตูล พบมีการแปรรูปไม้ด้วยเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ ซึ่งเป็นไม้ตะเคียนทราย จำนวน 5 แผ่น ไม้ซุงจำนวน 1 ท่อน อยู่บริเวณดังกล่าว แต่ไม่พบผู้กระทำผิด จึงได้ทำการตรวจยึดเรือและไม้ของกลางทั้งหมด ส่งพนักงานสอบสวน สภ.อ.เมืองสตูล ติดตามจับกุมผู้ต้องหามาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
1. ข่าวนี้เป็นข่าวเกี่ยวกับเรื่องอะไร (หมวกสีขาว)ตอบ การลอบตัดไม้ในเขตอุทยานฯตะรุเตา
2. นักเรียนมีความรู้สึกต่อผู้ลักลอบตัดไม้อย่างไร (หมวกสีแดง)ตอบ โกรธ เพราะเป็นต้นไม้ในเขตอุทยานควรอนุรักษ์ไว้เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม3. นักเรียนมีแนวทางอย่างไรบ้างที่จะแก้ปัญหานี้(หมวกสีเขียว)ตอบ ทำแผ่นพับให้ความรู้เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้ 4. ข่าวนี้หรือเหตุการณ์เช่นนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง (หมวกสีเหลือง)ตอบ ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้
5. ข่าวนี้สรุปได้ว่าอย่างไร (หมวกสีฟ้า)ตอบ มีการปราบปรามผู้ลักลอบตัดไม้ในเขตอุทยานฯตะรุเตาไปต่อเรือ6. ผลที่เกิดจากการกระทำของผู้ลักลอบตัดไม้นี้จะเป็นอย่างไร (หมวกสีดำ)ตอบ ทำให้ป่าไม้ลด มลพิษเพิ่มขึ้น
วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)